โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
อาหารไม่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายได้ แต่การกินอาหารอย่างถูกต้องจะช่วยเสริมสภาพร่างกายให้สามารถรับมือกับความเครียดที่เกิดจากโรคเรื้อรังและผลค้างเคียงจากยาที่ใช้รักษาได้ การเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารสูง เช่น โปรตีนจากเนื้อไม่ติดมัน ผักผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง งดอาหารขยะและแอลกอฮอล์ อาหารเพื่อสุขภาพของโรคหัวใจสามารถช่วยรับมือกับผลข้างเคียงจากยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรฮาร์ท (HAART:Highly Active Antiretroviral Therapy) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยากลุ่มนี้แม้จะช่วยยืดอายุของผู้ป่วยให้ยาวขึ้นแต่จะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล จึงทำให้เสี่ยงต่กการเกิดโรคหัวใจ
อาหารที่ใช้บำบัด
เนื้อสัตว์ไม่คิดมัน ปลา ไก่ ถั่วเมล็ด และ โปรตีนพร่องไขมันอื่นๆ
ผู้ป่วยเอชไอวีต้องการโปรตีนมากขึ้นเพื่อต่อสู้เชื้อไวรัส
การเพิ่มปริมาณโปรตีน ไม่ควรเลือกจากโปรตีน ที่มีไขมันสูง
เพราะไขมันอิ่มตัวจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ยาต้านไวรัส HAART ซ้ำยังกระตุ้นให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย
ซึ่งอาการอักเสบเรื้อรังเป็นสาเหตุของผลข้างเคียงระยะยาวอื่นๆ ในผู้ป่วยเอชไอวี
เช่น โรคกระดูกพรุนและเบาหวานชนิดที่สอง นอกจากนี้
ไขมันอิ่มตัวยังช่วยเพิ่มการสร้างสารไซโตคายน์ (cytokines) สารตัวนี้กระตุ้นการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส
จึงควรเลือกใข้โปรตีนจากแหล่งที่ ไม่มีไขมัน
อาหารที่มีเส้นใยสูง
การกินสารเส้นใยสูงช่วยให้ร่างกายดูดซับสารอาหารได้เพิ่มขึ้น
ลดอาการท้องร่วงซึ่งอาการท้องร่วงพบมากในผู้ป่วยเอชไอวีและยังช่วยควบคุมผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านไวรัส(HAART)
เช่น ภาวะดื้อยาอินซูลินและการสะสมไขมันบริเวณหน้าท้อง
อาหารที่แนะนำ ธัญญาพืช จะรับประทาน 3 ส่วนบริโภค เช่น
แซนวิชจากขนมปังโฮลวีต 2 แผ่น ข้าวกล้อง 1/2 ถ้วย หรือได้เพิ่มเติมจาก ถั่วฝัก
ถั่วเลนทิล ถั่วเปลือกแข็ง และซีเรียลที่มีสารเส้นใยสูง
ผักและผลไม้ และอาหารอื่นที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ไวรัสเอชไอวีทำให้เกิดความเสียหายกับเซลล์ทั่วร่างกายวิธีปกป้องเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด
คือ การเพิ่มสารต้านอยุมูลอิสระให้ร่างกายมากชนิดที่สุด
ผักและผลไม้เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ
ที่ผู้ป่วยเอชไอวีมักขาด
ภาวะขาดวิตามินจะพบได้แม้ในระยะแรกๆและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ได้เร็วขึ้น ดังนั้นควรเลือกผักและผลไม้ให้หลากหลายไม่กินซ้ำซากเพียงบางชนิด
และควรเลือกอาหารที่มีสีสันจัด
ปริมาณอาหารที่แนะนำ: กินผักผลไม้วันละ7-10ส่วนบริโภค
ปริมาณอาหารที่แนะนำ: กินผักผลไม้วันละ7-10ส่วนบริโภค
เห็ดชิตาเกะ เห็ดไมทาเกะ เห็ดหลินจือ
เห็ดทั้งสามชนิดนี้มีคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง
ที่เรียกว่า เบตากลูแคน (beta-glucan) ซึ่งการวิจัยทางห้องปฏิบัติการส่วนหนึ่งพบว่า
เบตากลูแคนนี้มีบทบาทในการช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันให้ทำลายเชื้อไวรัส
ปริมาณที่แนะนำ : ไม่มีปริมาณที่แนะนำเฉพาะ แต่การเพิ่มเห็ดวันละ 1/2 ถ้วยเป็นส่วนหนึ่งของอาหารกลุ่มผักและผลไม้ ไม่มีผลเสียใดๆ
เกร็ด่รู้ : นำเห็ดชิตาเกะมากินได้ทั้งชนิดสดหรือปรุงสุก แต่เห็ดไมทาเกะและเห็ดหลินจืออาจต้องนำมาต้ม
ปริมาณที่แนะนำ : ไม่มีปริมาณที่แนะนำเฉพาะ แต่การเพิ่มเห็ดวันละ 1/2 ถ้วยเป็นส่วนหนึ่งของอาหารกลุ่มผักและผลไม้ ไม่มีผลเสียใดๆ
เกร็ด่รู้ : นำเห็ดชิตาเกะมากินได้ทั้งชนิดสดหรือปรุงสุก แต่เห็ดไมทาเกะและเห็ดหลินจืออาจต้องนำมาต้ม
ถั่วบราซิล และอาหารอื่นที่มีซีลีเนียมสูง
ถั่วบราซิลมีสารต้านอนุมูลอิสระซีลีเนียมในปริมาณที่สูงมาก
มีงานวิจัยที่พบว่าผู้ป่วยเอชไอวีที่มีระดับซีลีเนียมต่ำ
มีอัตราการตายสูงกว่าผู้มีระดับซีลีเนียมในระดับปกติ 10 เท่า
ปริมาณที่แนะนำ : วันละ 200-600 ไมโครกรัม ซึ่งปริมาณนี้เทียบได้กับการกินถั่วบราซิลเพียง 1 กำมือ ถั่วบราซิล 1 เมล็ดมีซีลีเนียม 75-100 ไมโครกรัม
ปริมาณที่แนะนำ : วันละ 200-600 ไมโครกรัม ซึ่งปริมาณนี้เทียบได้กับการกินถั่วบราซิลเพียง 1 กำมือ ถั่วบราซิล 1 เมล็ดมีซีลีเนียม 75-100 ไมโครกรัม
โยเกิร์ตที่มีแบคทีเรียมีชีวิต
การดื่มโยเกิร์ตวันละ 2-3 ถ้วยจะส่งผลดีในหลายด้าน
ถ้าระบบทางเดินอาหารทำงานอย่างเป็นระเบียบจะไม่ค่อยเกิดอาการท้องร่วงและร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้นเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบภูมิคุ้มกันที่จะต่อต้านเชื้อไวรัส
และช่วยให้ผู้ป่วยทนต่อผลข้างเคียงจากยายที่รักษาได้ดีขึ้น
น้ำชาเขียว
เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด อิพีแกลโลคาทีชิน-3-แกลเลท(epigallocatechin-3-gallate) หรือ อีจีซีจี (EGCG) ซึ่งคาดว่ามีคุณสมบัติต้านไวรัส
ปริมาณที่แนะนำ: ชาเขียววันละ 4 ถ้วย
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- เนื้อติดมัน ผลิตภัณฑ์จากนมไม่สกัดไขมัน และไขมันชนิดทรานส์
การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงและไขมันชนิดทรานส์
ไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจที่มีผลจากยาต้านไวรัส (HAART) เท่านั้น
แต่ยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานด้วย
น้ำตาลทรายขาว
ถ้ากำลังกินโยเกิร์ตสารเส้นใยและสารเสริมชีวนะ
เพื่อบำรุงลำไส้ อย่าทำลายทิ้งด้วยการกินน้ำตาลในปริมาณสูง
ซึ่งจะทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันด้อยประสิทธิภาพลง
แอลกอลฮอล์
วีธีกำหนดปริมาณสัดส่วนอาหาร
อ้างอิง
Allison cleary,Norine Dworkin-McDanie(2551).อาหารรักษาโรค.แปลจากเรื่อง
Food Cures โดย
กิจจา ฤดีขจร,นิทราพร
รุจนวิศาล,นุชนาฏ
เนตรประเสริฐศรี.กรุงเทพฯ:บริษัทรีดเดอร์ส ไดเจสท์ จำกัด.
อาการของคนติดเชื้อ
ตอบลบ